ตลาดลักซูรีเบ่งบาน เมื่อพฤติกรรมนักเดินทางเปลี่ยน’ไทย’ติดลิสต์ปลายทางหรูเอเชีย

The Luxury Group by Marriott International  เปิดรายงาน ‘The Intentional Traveler’ เผยพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของกลุ่มนักท่องเที่ยวกำลังซื้อสูงใน 7 ตลาดทั่วเอเชียแปซิฟิก

 

โอริออล มอนทัล รองประธานฝ่ายลักชัวรี่ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (ไม่รวมประเทศจีน) แมริออท อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า จากผลการศึกษาล่าสุดโดย ลักชัวรี กรุ๊ป โดย แมริออท อินเตอร์เนชั่นแนล (The Luxury Group by Marriott International) เผยข้อมูลกลุ่มนักเดินทางผู้มีความมั่งคั่งสูง (HNW) ในภูมิภาคนี้กำลังปรับมุมมองที่มีต่อวิธีการเดินทาง สถานที่ และเหตุผลในการเดินทางใหม่

 

โดยให้ความสำคัญกับสุขภาวะ ประสบการณ์ที่ดื่มด่ำ คุณค่าทางอารมณ์ความรู้สึก และการออกแบบที่มีเป้าหมาย มากกว่าเรื่องปริมาณหรือความหรูหราเกินจำเป็น

 

รายงานฉบับใหม่นี้ ได้สำรวจความคิดเห็นของนักเดินทางผู้มีฐานะมั่งคั่งจำนวน 1,750 คนจาก 7 ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้แก่

 

  • ออสเตรเลีย
  • สิงคโปร์
  • อินเดีย
  • อินโดนีเซีย
  • เกาหลีใต้
  • ญี่ปุ่น
  • ประเทศไทย

 

โดยเผยให้เห็นมุมมองใหม่ของการท่องเที่ยวแบบลักซูรี ที่ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมทางวัฒนธรรมอย่างลึกซึ้ง การวางแผนการเดินทางอย่างแม่นยำมากขึ้น และความคาดหวังที่สูงขึ้นจากทั้งแบรนด์และประสบการณ์ที่ได้รับ

 

“นักเดินทางสายลักซูรีในปัจจุบันมีความตั้งใจและจุดมุ่งหมายชัดเจนมากกว่าที่เคย” โอริออล กล่าวพร้อมเสริมว่า “พวกเขาแสวงหาการเดินทางที่สอดคล้องกับค่านิยมของตนเอง ส่งเสริมสุขภาวะ และตอบโจทย์นิยามการใช้ชีวิตของตนแบบลึกซึ้ง”

 

จากแนวโน้มดังกล่าว แมริออท อินเตอร์เนชั่นแนล มองเห็นโอกาสสำคัญในการปรับโฉมบริการระดับลักซูรี ไปสู่สิ่งที่ทรงพลังและพิถีพิถันมากขึ้นไปอีก เพื่อเข้าถึงอารมณ์ความรู้สึกนักเดินทางกลุ่มนี้ให้ได้มากยิ่งขึ้น

 

ขณะที่ การสร้างเสริมสุขภาพแบบองค์รวมเป็นหัวใจหลักของการเดินทางสุขภาวะ (Wellbeing) ได้กลายมาเป็นองค์ประกอบสำคัญของการท่องเที่ยวแบบลักชัวรี โดยในปี 2568 นักเดินทางถึง 90% ระบุว่า “ประสบการณ์ด้านการดูแลส่งเสริมสุขภาพ” เป็นปัจจัยหลักในการตัดสินใจจองที่พัก เพิ่มขึ้นจาก 80% ในปีที่ผ่านมา

 

ทั้งนี้ กลุ่มนักท่องเที่ยวสายลักซูรี กำลังเปิดรับประสบการณ์ด้านสุขภาวะแบบองค์รวมที่มากกว่าโปรแกรมสปาแบบดั้งเดิม ตั้งแต่การบำบัดด้วยธรรมชาติ (forest immersion) โปรแกรมโภชนาการ การบำบัดด้วยเสียง (sound healing) ไปจนถึงโปรแกรมที่ช่วยเรื่องการนอนหลับ (sleep therapy)

 

ขณะที่ เอเชียยังคงเป็นจุดหมายปลายทางอันดับหนึ่งสำหรับการเดินทางเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ (wellness journey) 67% ของผู้ตอบแบบสอบถามเลือกเดินทางมายังเอเชีย และในจำนวนนี้มีถึง 26% มีแผนจะเดินทางเพื่อเข้าร่วมโปรแกรมดูแลสุขภาพหรือสปารีทรีตโดยเฉพาะ ใช้จ่ายมากขึ้น คาดหวังมากขึ้น

 

นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวสายลักชัวรีในปัจจุบันวางแผนการเดินทางด้วยความมั่นใจและความพิถีพิถัน โดย 72% มีแผนที่จะเพิ่มการใช้จ่ายด้านการท่องเที่ยวระดับไฮเอนด์ในปีต่อไป แนวโน้มการเติบโตนี้นำโดยนักท่องเที่ยวจากออสเตรเลีย (85%) อินโดนีเซีย (81%) และสิงคโปร์ (80%) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจอย่างชัดเจนในการลงทุนเพื่อประสบการณ์ที่เหนือระดับ ในบรรดาประเภทการเดินทางทั้งหมด

 

สำหรับการเดินทางเป็นครอบครัวโดดเด่นที่สุดในแง่ของความเต็มใจที่จะใช้จ่าย โดย 47% ของนักเดินทางผู้มีกำลังซื้อสูงยินดีที่จะทุ่มงบประมาณมากที่สุดเมื่อต้องเดินทางร่วมกับสมาชิกในครอบครัว

 

 

แบรนด์หรูมั่นใจกว่าที่พักอิสระ

 

นอกจากนี้ ความเชื่อมั่นในแบรนด์เพิ่มสูงขึ้น โดยแบรนด์โรงแรมหรูที่เป็นที่รู้จักได้รับความนิยมมากกว่าวิลล่าหรือที่พักอิสระ สะท้อนให้เห็นถึงความต้องการในแง่ของมาตรฐานที่ไว้วางใจได้ ประสบการณ์ที่ได้รับการคัดสรร

 

ขณะที่ 93% ของนักเดินทางผู้มีความมั่งคั่งสูงในภูมิภาคนี้ระบุว่าพวกเขาชื่นชอบการกลับไปยังจุดหมายปลายทางที่เคยประทับใจมาแล้ว ขณะที่ 89% กล่าวว่า พวกเขามีแนวโน้มที่จะกลับไปยังสถานที่ที่มีความผูกพันทางใจมากเป็นพิเศษ

 

โดย การเดินทางเหล่านี้ไม่ใช่แค่ “การกลับไปซ้ำ” แต่เป็นการเดินทางที่มีเป้าหมาย นั่นคือ เพื่อสัมผัสจุดหมายปลายทางในมิติที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น เชื่อมโยงกับชุมชนท้องถิ่น หรือย้อนรำลึกช่วงเวลาพิเศษร่วมกับครอบครัวและเพื่อนฝูง

 

3 ตลาดเกิดใหม่มาแรง

 

ในขณะเดียวกัน แม้ว่านักเดินทางผู้มีความมั่งคั่งสูงจำนวนมากยังคงนิยมจุดหมายปลายทางที่คุ้นเคย แต่ตลาดใหม่ที่เดินทางสะดวกในระดับภูมิภาคก็กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

  • บังกลาเทศ (26%)
  • นิวซีแลนด์ (24%)
  • กัมพูชา (23%)

 

ทั้งสามประเทศนี้ กำลังกลายเป็นตัวเลือกยอดนิยมในปี 2568 โดยขยับขึ้นมาติดใน 10 อันดับจุดหมายปลายทางที่มีการวางแผนเดินทางมากที่สุด ควบคู่ไปกับจุดหมายปลายทางยอดนิยมอย่างออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และจีนแผ่นดินใหญ่

 

 

เดินทางที่มีจุดมุ่งหมายขยายตัว

 

นอกจากนี้ นักเดินทางสายลักซูรี ในปัจจุบันจองทริปน้อยลงแต่เน้นความลึกซึ้งและความรอบคอบมากขึ้น โดยระยะเวลาพักผ่อนเฉลี่ยสำหรับทริปสั้นเพิ่มขึ้นจาก 3 คืนเป็น 4 คืน และแผนการเดินทางถูกวางไว้อย่างละเอียดถี่ถ้วน

 

โดยมักวางแผนล่วงหน้าหลายเดือน สำหรับทริปที่ยาวนานขึ้น มักจองล่วงหน้า 2-3 เดือน ขณะที่ทริปสั้นจองล่วงหน้า 1-2 เดือน นักเดินทางถึง 93% คาดหวังประสบการณ์เดินทางที่ปรับแต่งให้สอดคล้องกับความต้องการเฉพาะบุคคล และ 62% วางแผนรายละเอียดทุกขั้นตอนล่วงหน้า

 

ขณะที่ การได้ใกล้ชิดกับธรรมชาติกลายเป็นเทรนด์การท่องเที่ยวที่กำลังมาแรง แม้ว่าการลิ้มรสอาหารจะยังคงเป็นแรงจูงใจอันดับต้น ๆ ของการเดินทาง แต่ประสบการณ์ที่เชื่อมโยงกับธรรมชาติกำลังกลายเป็นเสาหลักใหม่ของการท่องเที่ยวแบบลักซูรี

 

ทั้งนี้ การพักผ่อนในชนบท กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น

 

  • 28% ของนักเดินทางผู้มีความมั่งคั่งสูงวางแผนจะไปพักผ่อนในพื้นที่ชนบท เพิ่มขึ้นจาก 19% ในปีที่ผ่านมา
  • 30% กำลังจองทริปซาฟารีดูสัตว์ป่า
  • 92% ระบุว่าการได้ใกล้ชิดกับธรรมชาติเป็นปัจจัยสำคัญในการเดินทาง

 

โดยสะท้อนถึงความต้องการที่เพิ่มขึ้นในการสัมผัสประสบการณ์ท่องเที่ยวแนวเอาท์ดอร์แบบใกล้ชิดและมีส่วนร่วมแบบแท้จริง นอกจากนี้ นักเดินทางกลุ่มนี้ยังเป็นนักวางแผนตัวยง โดยส่วนใหญ่จองทริปยาวล่วงหน้า 2 ถึง 6 เดือน และบางส่วนจองล่วงหน้านานถึง 9 ถึง 12 เดือน

 

 

 แล้วเราจะไปกับใครบ้าง?

 

ขณะที่ นักท่องเที่ยวผู้มีความมั่งคั่งสูงกำลังมอบนิยามใหม่ให้กับการเดินทางเป็นกลุ่ม จะเห็นได้จากรูปแบบใหม่ๆ ที่ก่อตัวขึ้นมา

 

  1. พ่อแม่ผู้เปิดเส้นทางแห่งการเรียนรู้ (Guardian Trailsetters) จากเดิมที่เป็นกลุ่มเฉพาะ การท่องเที่ยวของผู้ปกครองที่เดินทางกับลูกเพียงลำพังมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจาก 15% เป็น 24% ภายในเวลาเพียงหนึ่งปี เมื่อเดินทางในฐานะผู้ปกครองเดี่ยว

 

กลุ่มนี้มักเลือกแผนการท่องเที่ยวที่เน้นประสบการณ์ที่เติมเต็มและมีคุณค่าให้กับลูก ๆ เช่น กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับศาสนา (41%) ทริปเพื่อการเรียนรู้ (38%) ตามด้วยซาฟารีหรือกิจกรรมผจญภัยสุดขั้ว (35% เท่ากันทั้งสองประเภท)

 

  1. นักสำรวจผู้มีเป้าหมาย (Impact Explorers) นักเดินทาง Gen Z กำลังมุ่งความสนใจไปยังจุดหมายปลายทางอย่างออสเตรเลีย ศรีลังกา และไทย ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความชื่นชอบในธรรมชาติ วัฒนธรรม และการผจญภัย แตกต่างจากภาพจำของนักท่องเที่ยวเพื่อการพักผ่อนทั่วไป คนรุ่นนี้ถูกขับเคลื่อนด้วยการได้รับประสบการณ์จริงและมีจุดมุ่งหมาย

 

  • 47% ให้ความสำคัญกับการใกล้ชิดธรรมชาติ
  • 45% ต้องการได้เจอสัตว์ป่าอย่างใกล้ชิด
  • 43% สนใจวันหยุดที่ได้ใช้เวลาไปกับการเล่นกีฬา
  • 31% กำลังวางแผนเดินทางคนเดียว เพราะเป็นทางเลือกที่ให้อิสระเป็นตัวของตัวเองและเอื้อให้เกิดการค้นพบตัวเอง

 

อย่างไรก็ตาม การเดินทางเป็นกลุ่มเล็กที่มีสมาชิกไม่เกินห้าคนยังคงเป็นรูปแบบที่พวกเขาชื่นชอบมากที่สุดในการสำรวจโลก

 

  1. นักเดินทางผู้แสวงหาโอกาสทางธุรกิจ (Venture Travelist) กลุ่ม Venture Travelist ซึ่งได้ถูกกล่าวถึงครั้งแรกในรายงาน New Luxe Landscapes ปี 2567 เติบโตอย่างมีนัยสำคัญในปี 2568

 

โดยปัจจุบัน 86% ของนักเดินทางผู้มีความมั่งคั่งสูงระบุว่าพวกเขามักมองหาโอกาสทางธุรกิจหรือการลงทุนระหว่างการเดินทาง เพิ่มขึ้นจาก 69% ในปีที่ผ่านมา

 

 

‘Bleisure’ เติบโตในไทย

 

สำหรับประเทศไทย นักเดินทางชาวไทยมีแผนจะเดินทางเพื่อพักผ่อนน้อยกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาค (5 ทริปในประเทศ และ 3 ทริปต่างประเทศ เทียบกับค่าเฉลี่ย 6 ทริปในประเทศ และ 4 ทริปต่างประเทศ)

 

ขณะที่การเดินทางประเภท “bleisure” (การเดินทางที่ผสมผสานระหว่างการเดินทางเพื่อธุรกิจและการพักผ่อน) กำลังได้รับความนิยมอย่างในประเทศไทย

 

  • 90% เป็นการเดินทางต่างประเทศ
  • 95% เป็นการเดินทางภายในประเทศ

 

ทั้งนี้การเดินทางแบบครอบครัวใหญ่ในประเทศไทยขยายตัวต่อเนื่อง คิดเป็นสัดส่วน 40% ซึ่งมากกว่าตลาดเพื่อนบ้านอย่างมีนัยสำคัญ

 

โดยรูปแบบวันหยุดที่ได้รับความนิยม ได้แก่

  • การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและบันเทิง 36%
  • การพักผ่อนในชนบท 32%
  • การลาพักระยะยาว (sabbatical) 32%

 

รวมไปถึงรูปแบบที่โดดเด่นอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นในภูมิภาค เช่น การท่องเที่ยวในเมืองระยะสั้นและการพักผ่อนวันหยุดริมชายหาด

 

ปลายทางนอกกระแสมาแรง

 

แม้การท่องเที่ยวภายในประเทศยังคงแข็งแกร่ง จุดหมายปลายทางต่างประเทศที่ได้รับความนิยม ได้แก่ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และฮ่องกง, จีน โดยบังกลาเทศและบรูไนกำลังขึ้นสู่ท็อป 5 ของจุดหมายปลายทางในแผนการเดินทางในปีหน้า

 

โดยสะท้อนถึงความสนใจที่เพิ่มขึ้นใน ‘สถานที่ที่ไม่ค่อยมีคนไปหรือไม่ได้อยู่ในเส้นทางท่องเที่ยวหลัก’ (off-the-beaten-path) ยังคงติดอันดับจุดหมายปลายทางที่ได้รับความนิยมสูงสุดจากนักท่องเที่ยวชาวไทยผู้มีความมั่งคั่งสูง

 

ขณะที่ นักท่องเที่ยวชาวไทยสายลักซูรี คาดหวังประสบการณ์ที่ได้รับการออกแบบเฉพาะ

 

  • 97% ต้องการให้ทุกรายละเอียดของทริปถูกปรับให้สอดคล้องกับความต้องการเฉพาะของตนเอง
  • 60% ชื่นชอบโรงแรมลักชัวรีขนาดใหญ่มากกว่า
  • 41% สนุกกับการวางแผนทริปด้วยตนเอง และต่างคาดหวังประสบการณ์ที่ออกแบบมาเพื่อพวกเขาโดยเฉพาะ การรับประทานอาหารถือเป็นความสำคัญอันดับต้น
  • 60% มองว่าไฟน์ไดนิ่งคือคืนในอุดมคติ
  • 39% ยินดีจ่ายให้กับร้านอาหารระดับมิชลิน รีวิวดี ๆ
  • 57% รางวัลและประสบการณ์เอ็กซ์คลูซีฟ (อย่างละ 51%) คือปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจมากที่สุด

 

สุขภาพควบคู่ความยั่งยืน

 

สิ่งที่ไม่สามารถมองข้ามได้ของนักท่องเที่ยวชาวไทย คือ สุขภาพและความยั่งยืน

 

  • 98% คาดหวังจะได้สัมผัสประสบการณ์การรับประทานอาหารที่หลากหลาย
  • 97% สิ่งอำนวยความสะดวกด้านสุขภาพแบบครบวงจร
  • 97% แนวทางการดำเนินงานที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมในโรงแรมระดับลักชักรี
  • 96% สระว่ายน้ำและโปรแกรมช่วยให้นอนหลับสบาย ซึ่งถือเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีคุณค่ามากที่สุด
  • 62% มีแนวโน้มจะจองบริการสปาในทริปของตน

 

อ่าน รายงานฉบับเต็ม

 

สำหรับผลสรุปข้างต้นมาจากรายงานการวิจัยโดย ลักชัวรี กรุ๊ปโดย แมริออท อินเตอร์เนชั่นแนล จัดทำระหว่างวันที่ 14 มีนาคม ถึง 17 เมษายน 2568 กับกลุ่มนักเดินทางประเทศนานาชาติที่เดินทางบ่อย และเน้นการเดินทางเพื่อพักผ่อนเป็นหลัก การศึกษานี้มุ่งเน้นกลุ่มประชากรที่มั่งคั่งสูง 10% ในประเทศออสเตรเลีย สิงคโปร์ อินเดีย อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และประเทศไทย โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามในแต่ละตลาดจำนวน 250 คน

 

 

Alternate-X สรุปให้

แมริออทฯ เผยรายงาน ‘The Intentional Traveler’ ชี้เทรนด์การท่องเที่ยวลักซูรียุคใหม่ในเอเชียแปซิฟิก โดยไทยติดโผ 1 ใน 7 จุดหมายปลายทางหรูที่นักเดินทางมีกำลังซื้อสูงนิยม โดยนักท่องเที่ยวให้ความสำคัญกับสุขภาวะ ความยั่งยืน และประสบการณ์เฉพาะบุคคล แม้จะเดินทางน้อยลงแต่ใช้จ่ายมากขึ้น พร้อมวางแผนอย่างละเอียดล่วงหน้า อินไซต์ด้านสุขภาพ อาหาร และธรรมชาติกลายเป็นหัวใจหลักของการท่องเที่ยวลักซูรี

บทความล่าสุด

COLLABORATE IDEAS, CREATE SUCCESS


FOLLOW US

© 2024 Maxideastudio. All Rights Reserved.