5 เรื่องชวนเตรียมตัว วางแผนซ่อม/ปรับปรุงบ้าน ใช้ตัวช่วยสำรองเงินจากบัตรเครดิต/สินเชื่อ

‘ที่อยู่อาศัย’ คือ หนึ่งในปัจจัยสำคัญของชีวิต เมื่อถึงเวลาต้อง ซ่อมแซมหรือตกแต่งบ้าน-คอนโด มักต้องใช้เงินก้อน ด้วยเหตุผลอาจมาจากภัยธรรมชาติ ความปลอดภัย เพื่อเพิ่มมูลค่า หรือปรับให้เหมาะกับครอบครัว ขณะที่การวางแผนการเงิน อย่างมีระบบจึงช่วยลดความกังวลและควบคุมค่าใช้จ่ายได้ดี

 

กรุงศรี คอนซูมเมอร์ แนะนำวิธีจัดการงบประมาณเพื่อซ่อมหรือตกแต่งบ้านให้ราบรื่น พร้อมแนวทางบริหารค่าใช้จ่ายอย่างเป็นขั้นตอน ไม่ซับซ้อน และเหมาะกับทุกความจำเป็น กับ 5 วิธีน่าลอง พร้อมนำไปปรับใช้

 

 

1.กำหนดเป้าหมาย

 

เพื่อให้สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้อย่างเหมาะสมกับงบประมาณที่มี ควรให้ผู้เชี่ยวชาญหรือวิศวกรเข้ามาดูบ้านเพื่อตรวจสอบสภาพพื้นที่ก่อน เช่น โครงสร้างภายใน-ภายนอก, ระบบไฟฟ้า, ระบบประปา, ส่วนผนังและพื้น เป็นต้น

 

จากนั้นวางแผนปรับปรุงหรือตกแต่งบ้านด้วยการจัดลำดับความสำคัญก่อน-หลัง แยกเป็น ‘งานจำเป็น’ และ ‘งานที่อยากทำการปรับปรุง’ โดยให้เน้นคำนึงถึงงานที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยมาเป็นลำดับแรก

 

ตามด้วยงานที่ส่งผลกระทบหลักต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ส่วนงานอื่น ๆ จัดเป็นความสำคัญรองที่อาจทยอยทำเพิ่มเติมในภายหลังตามงบประมาณที่มีได้

 

2.ประเมินค่าใช้จ่าย

 

กำหนดงบประมาณโดยเริ่มจากการรวบรวมข้อมูลการซ่อมแซม ทำการประเมิน และหาข้อเสนอจากผู้รับเหมาหรือร้านวัสดุก่อสร้างโดยให้เปรียบเทียบราคาและคุณภาพงานอย่างน้อย 2-3 แห่ง

 

จากนั้นให้คำนวณค่าใช้จ่ายโดยละเอียด พร้อมเตรียมงบสำรองฉุกเฉินประมาณ 10-20% ของงบประมาณ รวมเผื่อกรณีเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดหรือเกิดเปลี่ยนแปลงงานกลางคัน

 

3. หาแหล่งทุน

 

ค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมหรือตกแต่งบ้านมักจะเป็นค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่ แหล่งทุนก็มักจะมาจาก เงินออมหรือรายได้ประจำ โดยควรทยอยเก็บออมล่วงหน้าเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายประจำในแต่ละเดือน

 

แต่หากใช้งบประมาณสูง อาจพิจารณาขอสินเชื่อปรับปรุงและตกแต่งบ้านจากสถาบันการเงิน โดยสามารถเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยและเงื่อนไขในการชำระเงินก่อนตัดสินใจ

 

ขั้นตอนขอสินเชื่อมี 3 วิธีง่าย ๆ คือ

 

  1. พิจารณาเลือกสินเชื่อที่ใช่ เช่น สินเชื่อปรับปรุงบ้าน, สินเชื่อที่ใช้บ้านเป็นหลักประกัน เป็นต้น
  2. เตรียมเอกสารให้ครบถ้วน เช่น งบประมาณที่ใช้ปรับปรุงและตกแต่ง, หลักฐานรายได้ผู้กู้ เป็นต้น จะทำให้ขั้นตอนการอนุมัติสินเชื่อผ่านได้ง่ายขึ้
  3. วางแผนการชำระเงินคืน คิดคำนวณดูว่า จากรายได้ในแต่ละเดือนจะมีเงินพอที่จะจ่ายคืนได้เท่าไหร่

 

โดยหากอยากหลีกเลี่ยงภาระดอกเบี้ยที่สูง แนะนำให้เปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมจากหลายสถาบันการเงินเพื่อหาเงื่อนไขที่ดีที่สุดก่อนทำเรื่องกู้  และควรวางแผนไม่ให้เงินที่ต้องชำระคืนสูงกว่า 20% ของรายได้ในแต่ละเดือน

 

นอกจากนี้ ในกรณีที่ต้องซ่อมแซมบ้านเนื่องจากภัยธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว หรือน้ำท่วม อาจตรวจสอบสิทธิประโยชน์จากประกันภัยหรือความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ว่ากรมธรรม์บ้านหรือคอนโดที่ทำไว้ว่ามีความคุ้มครองหรือไม่ และรีบทำเอกสารส่งเคลมเพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซม เป็นต้น

 

4. ลงมือ

 

เมื่อได้ผู้รับเหมาที่น่าเชื่อถือแล้วให้ทำสัญญาก่อนเริ่มงานและตรวจสอบรายละเอียดอย่างถี่ถ้วน โดยเฉพาะเงื่อนไขที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงงานและการจ่ายเงินเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในภายหลัง จากนั้นจึงเริ่มตามลำดับ ได้แก่

 

  1. งานด่วน (เช่น โครงสร้างบ้าน, โครงสร้างเหล็ก, โครงสร้างคอนกรีต เป็นต้น)
  2. งานพื้นฐาน (เช่น ระบบไฟฟ้า, ระบบประปา, ระบบสุขาภิบาล เป็นต้น) 3. งานตกแต่ง (เช่น ทาสี, ติดตั้งเครื่องใช้ไฟฟ้าและเฟอร์นิเจอร์, งานตกแต่งภายใน เป็นต้น)

 

พร้อมทั้งติดตามและปรับแผนงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายให้เป็นไปตามงบที่วางไว้ และสามารถชำระหนี้ได้ตามเงื่อนไขที่กำหนด

 

5.บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล ตัวช่วยเรื่องบ้านที่ไม่ควรมองข้าม

 

บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล นับเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยเมื่อต้องใช้จ่ายเกี่ยวกับเรื่องบ้าน เนื่องจากบัตรเครดิตบางประเภทให้สิทธิประโยชน์เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการเกี่ยวกับการดูแลและตกแต่งบ้านที่คุ้มค่า เช่น ส่วนลด, โปรโมชันพิเศษต่าง ๆ, คะแนนสะสม หรืออาจเลือกผ่อน 0% ได้นานหลายเดือนตามเงื่อนไขของแต่ละสถาบันการเงิน

 

ทั้งนี้ เพื่อช่วยให้บริการจัดการการใช้จ่ายได้ง่ายยิ่งขึ้น เช่น บัตรเครดิต โฮมโปร วีซ่า แพลทินัม ที่มอบส่วนลด 3% หากทำครบตามเงื่อนไขเมื่อรูดใช้จ่ายสินค้าเกี่ยวกับบ้านที่โฮมโปรทุกสาขา

 

หรือเมื่อใช้บริการ Home Service ดูแลทุกบริการเรื่องบ้าน, หรือบัตรโฮมโปร เฟิร์สช้อยส์ ที่มอบสิทธิ์ผ่อน 0% นานสูงสุด 24 เดือน เมื่อใช้จ่ายตามเงื่อนไขที่โฮมโปรทุกสาขาและโฮโปร ออนไลน์ (เงื่อนไขเป็นไปตามที่กำหนด) ทั้งนี้ บัตรเครดิต : ใช้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนได้เต็มจำนวนตามกำหนด จะได้ไม่เสียดอกเบี้ย 16% ต่อปี, สินเชื่อส่วนบุคคล : อัตราดอกเบี้ยปกติ 25% ต่อปี, กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนได้ตามกำหนด จะได้ไม่เสียดอกเบี้ย 15%-25% ต่อปี

 

Alternate-X สรุปให้ 

กรุงศรี คอนซูมเมอร์ แนะนำ 5 วิธีวางแผนซ่อม-แต่งบ้านแบบมือโปร คุมงบไม่บานปลาย เริ่มจากตั้งเป้าหมาย ประเมินค่าใช้จ่าย และหาแหล่งทุนอย่างเหมาะสม และพิจารณาใช้สินเชื่อหรือบัตรเครดิตที่มีโปรโมชันบ้านโดยเฉพาะ พร้อมควรจัดลำดับงานและติดตามแผนงานให้สอดคล้องกับงบที่ตั้งไว้ โดยบัตรเครดิตและสินเชื่อคือเครื่องมือช่วยผ่อนแรง เมื่อใช้อย่างมีวินัย

 

บทความล่าสุด

COLLABORATE IDEAS, CREATE SUCCESS


FOLLOW US

© 2024 Maxideastudio. All Rights Reserved.