คันนา (KUNNA) สแน็คสายพันธุ์ไทย ที่เดินทางมาแล้ว 13ปี ภายใต้การบริหารของ โบว์- ณชา จึงกานต์กุล ผู้บริหารสาวที่ใช้ความชอบกินขนมเป็นแรงบันดาลใจทำตลาด สแน็กเพื่อสุขภาพ
‘โบว์-ณชา’ เล่าที่มา ธุรกิจ เกิดขึ้นจากแพสชั่นด้านขนมที่ ’เจ้าตัว‘ อยากได้ทั้งความอร่อย และ สุขภาพดีไปพร้อมกัน ในช่วงจังหวะเดียวกับกระแสการใส่ใจดูแลสุขภาพเริ่มก่อตัวขึ้นในช่วงนั้น ที่กลายเป็นแรงส่งให้ ’โบว์‘ ตัดสินใจยุติงานประจำด้านการตลาด และฝ่ายขายในองค์กร บิ๊ก เทคโนโลยี ระดับโลก อย่าง ‘ไมโครซอฟท์’ เพื่อเข้าสู่เส้นทางผู้ประกอบการธุรกิจอย่างจริงจังในตลาดสแน็กผลไม้ไทยแปรรูป ภายใต้แบรนด์ ‘คันนา’
’ที่มาชื่อแบรนด์สินค้า เราอยากตั้งให้เป็นชื่อไทย เพื่อสะท้อนไทยเนสด้วยวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตที่มาจากการทำงานร่วมกับเกษตรกรชาวสวนผลไม้ของไทยทั้งหมด อย่างมะพร้าว ทุเรียน มะม่วง ฯลฯ มาตั้งแต่การเริ่มทำธุรกิจ“ โบว์ กล่าว
จากนั้น ‘คันนา’ ได้พัฒนาสินค้าเพื่อทำตลาดมาอย่างต่อเนื่อง และเมื่อ 4-5 ปีก่อนแบรนด์ ยังได้ก้าวข้ามความเป็นผลไม้แปรรูปทั่วไป ด้วยสร้างจุดเด่นสินค้าในการฟิวชั่นวัตถุดิบผลไม้ไทย เพื่อให้ได้รสชาติแปลกใหม่ที่ดีต่อสุขภาพ แต่คงความอร่อย เอาไว้ อย่าง มะพร้าว เคลือบช็อคโกแลต มะม่วงกัมมี่ หนึบหนับ มะม่วงชุบกะทิ หรือ ปรุงรสชาติ บาร์บีคิว ฯลฯ ถึงในตอนนี้ คันนา มีสินค้าทำตลาดราว 35รายการ (SKUs) แล้ว
“โดยกว่า 95% ใช้วัตถุดิบของไทย ทั้งหมดจากผลลิตชาวเกษตรกรภาคอีสาน ภาคตะวันออก และ ภาคกลาง เพื่อย้ำที่มาแบรนด์คันนา เป็นสินค้าสแน็ก รสชาติไทยจริงๆ ซึ่งก่อนหน้าเราเคยลองชิมมะพร้าวจากประเทศเพื่อนบ้าน แต่ก็ให้รสชาติแตกต่างไปจากของไทยอย่างมาก“ โบว์ กล่าว
สำหรับกลุ่มเป้าหมายหลัก ‘คันนา’ เป็นตลาดกลุ่มประะเทศอาเซียน และ จีนสัดส่วน 70% และที่เหลือ 30% เป็นกลุ่มประเทศ สหรัฐอเมริกา แคนาดา และ ยุโรป รวมตลาดในไทย
โดย ‘คันนา’ ยังใช้กลยุทธ์ราคาสินค้าขายปลีก เริ่มต้น 35-285 บาท ซึ่งสินค้าที่มีราคาสูงสุดจะพัฒนาในรูปแบบการจับคู่ ‘DUO’ ผลไม้ด้วยรสชาติใหม่ให้ความแตกต่าง พร้อมผลิตจำนวนจำกัด (Limited) ในการทำตลาด ออกมาแต่ละช่วงฤดูกาล เป็นต้น
โบว์ เล่าต่อถึงการทำตลาดคันนา ในไทย จะวางจำหน่ายสินค้าในช่องทางร้านค้าปลีกสมัยใหม่ ร้านสะดวกซื้อ และแพล็ตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ พร้อมเสริม “แนวทางการทำธุรกิจ คันนา จะมุ่งให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนา (R&D) โดยใช้งบลงทุนส่วนนี้สูงถึง 5-10% ของยอดขายเลยทีเดียว ซึ่งที่ผ่านมากว่าจะได้สินค้า ทำตลาด 2-3 ตัวจะต้องวิจัยฯ สินค้าไม่ต่ำกว่า 20 ตัว แต่ได้ผลิตภัณฑ์ใหม่ราว 3-4 ตัว”
ขณะที่ ภาพรวมเศรษฐกิจที่ค่อนข้างชะลอตัวในช่วงที่ผ่านมา มีผลต่อกำลังซื้อลดลง รวมถึงนักท่องเที่ยวจีนที่ยังไม่กลับมาเทียบเท่าช่วงก่อนหน้า ซึ่ง บริษัทฯ ไม่ได้มองว่าเป็นปัจจัยลบมากนัก แต่เห็นว่าเป็นโอกาสในการขยายตลาดใหม่ให้กับสินค้ามากกว่า โดยที่ผ่านมาเริ่มมีตลาดตะวันออกกลาง ให้ความสนใจสินค้า แบรนด์ ’คันนา‘ เข้ามาแล้ว
“สำหรับภาษีทรัมป์ ที่เกิดขึ้น แม้คันนาจะมีตลาดในสหรัฐฯ แต่กลับพบว่าเป็นตัวเร่งที่ทำให้เกิดคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาส1-2 ที่ผ่านมา ด้วยคู่ค้าต้องการสินค้าในราคาเดิมก่อนจะมีการเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีนำเข้า”
โบว์ กล่าวต่อ ถึงแผนในอนาคตจะขยายและต่อยอดแบรนด์ ‘คันนา’ สู่รูปแบบธุรกิจเวลเนสส์ (Wellness) เพื่อตอกย้ำด้านสุขภาพของแบรนด์ ในอนาคต เพื่อรองรับความต้องการผู้บริโภค ที่มุ่งให่ความสำตัญต่องค์รงมสุขภาวะ ตัวเอง มากขึ้น
จากปัจจุบัน คันนา มีรายได้หลักร้อยล้านบาท โดยในปี2568 นี้ คันนา คาดเติบโต 30% แบ่งสัดส่วน 80% จากตลาดต่างประเทศ และ 20% เป็นตลาดในประเทศ
Alternate-X สรุปให้
คันนา (KUNNA) เป็นแบรนด์สแน็กไทยเพื่อสุขภาพ ที่ก่อตั้งโดยโบว์-ณชา ด้วยแพสชั่นด้านขนมและการดูแลสุขภาพ โดยแบรนด์เน้นใช้วัตถุดิบจากเกษตรกรไทย และพัฒนาสินค้าฟิวชั่นรสชาติแปลกใหม่ ปัจจุบันมีสินค้าทำตลาดแล้วกว่า 35 รายการ โดย 70% ส่งออกไปยังอาเซียนและจีน ขณะที่ กลยุทธ์สำคัญคือการลงทุนวิจัยและพัฒนา (R&D) สูงถึง 10% ของยอดขาย พร้อมแผนต่อยอดสู่ธุรกิจเวลล์เนส และคาดเติบโต 30% ในปี 2568 จากตลาดต่างประเทศเป็นหลัก