กลายเป็นไวรัล ที่ถูกพูดถึงอย่างรวดเร็วในสื่อโซเชียลแทบทุกแฟลตฟอร์ม หลัง Netflix ปล่อยซีรีส์ไทย ‘สงครามส่งด่วน’ หรือ Mad Unicorn ออกมาให้รับชมวันแรก 29 พฤษภาคม 2568 ที่ผ่านมา และเป็นที่นิยมของคนไทยจนขึ้นเป็นอันดับ 1 ภายในเวลา 24 ชั่วโมง หลังเปิดตัว
สำหรับซีรีส์ ‘สงครามส่งด่วน’ เป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง Netflix ที่ผลิตโดย GDH ฝีมือการกำกับของ ‘ไก่-ณฐพล บุญประกอบ’ กับพล็อตเรื่องเส้นทางธุรกิจขนส่งของ ‘ซีอีโอเด็กดอย‘ เมืองไทยที่พาธุรกิจสตาร์ทอัป ที่เขาและทีมสร้างขึ้นเดินไปได้ไกลถึงระดับ ’ยูนิคอร์น‘ ตัวแรกที่จะต้องมีมูลค่าธุรกิจระดับ 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 30,000 ล้านบาท
All In ‘เทหมดหน้าตัก’
ความสนุกและน่าสนใจของซีรีส์ สงครามส่งด่วนชิ้นนี้ ได้หยิบเค้าโครงเรื่องจากชีวิตจริงของ ‘คมสันต์ ลี’ ที่ผ่านความยากลำบากมาตั้งแต่วัยเด็ก แต่ด้วยแพสชั่น ‘อยากเป็นคนมีเงิน’ ทำให้เขาถีบตัวเองขึ้นมาจากหลุมแห่งต้นทุนชีวิตชาวดอยที่มีน้อยนิด แต่กลับมีราคาค่ากินอยู่ที่ต้อง ‘จ่ายสูง’ กว่าคนเมือง
ในซีรีส์ชิ้นนี้ ยังสะท้อนคาแรกเตอร์ของ ’คมสันต์ ลี‘ เป็นอย่างดีว่าเขาพร้อมจะ All In ‘เทหมดหนัาตัก’ กับไพ่ที่มีอยู่ในมือของเขา
ถือเป็นความกล้าต่อการเดิมพันสูงในเกมที่เขาพร้อมจะเสี่ยง ซึ่งรวมถึงการสร้างธุรกิจขนส่ง ในคอนเซปต์ ‘เอ็กซ์เพรสราคาประหยัดที่ทุกคนเข้าถึงได้’ ซึ่งเขาได้แนวคิดนี้มาจากธุรกิจขนส่งรายหนึ่งในประเทศจีน ที่คิดค่าส่งเริ่มต้นราคา 5 หยวนเท่านั้นแต่ส่งไกลทั่วประเทศ
และในฐานะสตาร์ทอัป แน่นอนว่าจะต้องใช้เทคโนโลยีมาสนับสนุนธุรกิจ ซึ่งเขาได้หุ้นส่วนสายเทคโนโลยีชาวจีน มาร่วมงานพร้อมพัฒนาแอปพลิเคชั่น ทั้งสำหรับ ผู้ใช้งาน ไรเดอร์ทีจัดส่งพัสดุ และทีมขายแฟลชฯ ที่เคลมว่าแอปฯเดียว มีครบจบทุกอย่าง ทั้ง
- Flash Radar ตัวช่วยสรุปภาพรวมการขายและวิเคราะห์กลุ่มลูกค้า
- Parcel Tracking ติดตามสถานะพัสดุ
- Door to Door เรียกเข้ารับฟรี กี่ชิ้นก็เข้ารับไม่มีขั้นต่ำ
- Flash Family ส่งพัสดุ สะสมพอยต์ แลกของพรีเมียม
- Live Chat ติดต่อเจ้าหน้าที่ สอบถามบริการ
ขณะที่ เรื่องราวชีวิตจริงของ ‘คมสันต์ ลี’ ได้ถูกถ่ายทอดเส้นทางธุรกิจไว้ค่อนข้างละเอียดผ่านการสัมภาษณ์ในพอดแคสต์ The Secret Sauce เมื่อ 4 ปีก่อน ในช่วงไทม์ไลน์เดียวกับที่ Flash Express ประกาศปิดดีลระดมทุนรอบซีรีส์ D+ และซีรีส์ E ไปเมื่อกลางปี 2564 แรงหนุนสำคัญที่พาให้บริษัทมีมูลค่าแตะ 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 33,500 ล้านบาท) และทะยานสู่การเป็นสตาร์ตอัปยูนิคอร์น ‘รายแรกของไทย’ ได้สำเร็จ
ทิ้งช่วง 4ปีผ่านไปในเดือนเดียวกันนี้เองที่ ซีรีส์ ’สงครามสงด่วน‘ ถูกปล่อยสตรีมมิ่งบน Netflix พอดีในปีนี้ เช่นกัน
ปัจจุบัน ’คมสันต์ ลี‘ นั่งในตำแหน่ง ซึอีโอ แฟลช กรุ๊ป (Flash Group)ผู้ให้บริการ E-commerce สัญชาติไทยแบบครบวงจร ซึ่งเป็นบริษัทแม่ Flash Express ซึ่งปิดการระดมทุนรอบซีรีส์ F ไปเมื่อเดือน ธันวาคม 2565 ไปได้กว่า 15,000 ล้านบาท (ส่วนหนึ่งมากจากผู้ถือหุ้นเดิมลงทุนเพิ่ม) ทำให้มูลค่า Flash Group แตะ 70,000 ล้านบาท ไปแล้ว
คมสันต์ บอกผ่านในการสัมภาษณ์ครั้งนั้น ว่า
“ธุรกิจนี้ถ้าไม่ออลอินผมจะมีทางถอย แต่ถ้าไม่มีทางถอยผมจะสู้หมดหน้าตัก”
ใช้ทุกโอกาสที่มี
ขณะที่เนื้อหาในซีรีส์ ‘สงครามส่งด่วน’ ผู้กำกับยังสะท้อนความชัดของคาแรกเตอร์ ’คมสันต์ ลึ’ ที่ ‘กล้าเสี่ยงและเอาจริง’ ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับเส้นเรื่องการเริ่มทำธุรกิจของเขาผ่านการสัมภาษณ์พิเศษในพอดแคสต์ ชิ้นนี้ด้วยเช่นกัน
โดยในบางส่วนของการสนทนาระหว่าง เขา และ ผู้ดำเนินรายการ (เคน- นครินทร์ วนกิจไพบูลย์) ‘คมสันต์’ ยังเล่าถึงที่มาแบรนด์ Flash Express ซึ่งใช้โลโก ‘สายฟ้า’ เป็นสัญลักษณ์บริษัท ซึ่งอาจทำให้หลายคนเข้าใจว่าต้องการสื่อถึงความรวดเร็วในการจัดส่งพัสดุ
ขณะที่ คมสันต์ บอกว่า สัญลักษณ์นี้ยังมึอีกนัยหนึ่งที่ซ่อนไว้คือ ‘สายฟ้า’ จะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อมีพายุฝนฟ้า คะนอง เช่นเดียวกับธุรกิจ Flash Express ก็เข้ามาในช่วงที่ไม่ราบเรียบและเต็มไปด้วยปัญหา แต่ธุรกิจก็ยังเกิดและเติบโตขึ้นมาได้จนไปสู่เส้นทาง ‘ยูนิคอร์น’ ตัวแรกของไทย ได้ในที่สุดเช่นกัน
“ธุรกิจนี้ดุกว่าที่คิด ด้วยผมเปิดราคาที่ยี่สิบห้าบาท ตอนแรกไม่มีใครใช้ คนกลัวว่าทำราคานี้จะเอาของเขาหนี เพราะเป็นบริษัทโนเนม ในตอนนั้นเรายังให้บริการแต่ในกรุงเทพฯและปริมณฑล แต่โชคดีที่เราได้ไปรษณีย์ไทยเป็นพันธมิตรที่แข็งแกร่งร่วมให้บริการจัดส่งสินค้าทั่วไทยตั้งแต่ในวันนั้นจนถึงปัจจุบัน”
คมสันต์ บอก
และจากไมตรีที่ได้รับจากพี่ใหญ่ ‘ไปรษณีย์ไทย’ ให้การสนับสนุนธุรกิจคนตัวเล็กอย่าง Flash Exprress ในครั้งนั้น ยังทำให้เขาใช้โมเดลเดียวกันนี้เป็นโอเปเรชั่นระบบให้กับธุรกิจบริษัทขนส่งรายเล็กอื่นๆที่เกิดขึ้นตามมาหลังจากนั้น อีกด้วย
จากการสัมภาษณ์ในครั้งนั้น คือ เรื่องราวของ Flash Express บนเส้นทางสู่ยูนิคอร์นรายแรกของไทยที่เกิดขึ้นเมื่อสี่ปีก่อน และในวันนี้ Netflix ได้นำซีรีส์ ‘สงครามส่งด่วน’ มาเผยแพร่ผ่านสตรีมมิง ที่ชวนให้หลายคนต่างนึกถึงชื่อ ‘คมสันต์ ลี’ ในฐานะผู้ก่อตั้งธุรกิจขนส่งหมื่นล้าน ให้กลับมาอยู่ในจอเรดาร์ของชาวโซเชียล ได้อีกครั้ง
และเป็นที่น่าสนใจว่า ‘บิ๊ก มูฟ’ จากนี้ไปของ Flash Express จะไปต่อในทิศทางใด ท่ามกลางสมรภูมิส่งด่วนทั้งในประเทศและระดับภูมิภาค ที่อาจทะยานให้ Flash Express ไปสเต๊ปต่อไปในระดับโลก
จากในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (2564–2566) บริษัท แฟลช เอ็กซ์เพรส จำกัด มีรายได้รวมและผลประกอบการดังนี้ ในปี 2564 บริษัทมีรายได้รวม 17,607 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 5.6 ล้านบาท ขณะที่ในปี 2565 รายได้ลดลงเหลือ 14,805 ล้านบาท และขาดทุนสุทธิ 2,186 ล้านบาท และในปี 2566 รายได้เพิ่มขึ้นเป็น 20,093 ล้านบาท แต่ยังคงขาดทุนสุทธิ 559 ล้านบาท
Alternate-X สรุปให้
หลังจาก Netflix ปล่อยซีรีส์ไทย ‘สงครามส่งด่วน’ ได้สร้างกระแสฮิตในเวลาเพียงช่วงข้ามคืน ด้วยพล็อตเรื่องเล่าเส้นทางชีวิตจริงของ ‘คมสันต์ ลี’ ผู้ก่อตั้ง Flash Express จากเด็กดอย สู่ซีอีโอสตาร์ทอัปยูนิคอร์น รายแรกของไทย กับแนวคิดธุรกิจขนส่งราคาประหยัดที่ทุกคนเข้าถึงได้ จากแพสชั่น ‘All In’ เทหมดหน้าตัก ที่พาเรื่องราวและชื่อของเขากลับมาอยู่ในเรดาร์สังคมอีกครั้ง