‘เศรษฐกิจซึม’ คนหารายได้เสริม! Brother ชูปรินเตอร์-จักรเย็บผ้า ตอบโจทย์ตลาดทำเงินยุคใหม่

จากจุดเริ่มกิจการซ่อมจักรเย็บผ้า ของสองพี่น้องชาวญี่ปุ่น  เมืองนาโกย่า ในปีพ.ศ. 2451 ก่อนเดินทางถึงจุดเปลี่ยนสำคัญสู่การใช้ชื่อ ‘Brother’ เมื่อปีพ.ศ. 2505 เพื่อทำตลาดระดับสากล พร้อมปรับโพสิชั่นแบรนด์เพื่อรุกหนักในอุตสาหกรรม ‘เครื่องพิมพ์’ Printer และอุปกรณ์สำนักงาน อย่างจริงจัง ในช่วงทศวรรษที่ 1970-1980 ด้วยผลิตภัณฑ์เด่นได้แก่ เครื่องพิมพ์เลเซอร์, อิงค์เจ็ท, มัลติฟังก์ชัน, เครื่องแฟกซ์, และ เครื่องพิมพ์ฉลาก (P-touch) ไปพร้อมกับแผนขยายธุรกิจ ราว 40 ประเทศ ถึงในวันนี้

 

ส่วนในไทย ‘Brother’ เข้ามาดำเนินกิจการตั้งแต่ปี 2540  มีอายุ 28 ปีแล้วในปัจจุบัน ภายใต้บริษัท บราเดอร์ คอมเมอร์เชี่ยล (ประเทศไทย) จำกัด และในปีนี้ บราเดอร์ ได้ออกมาประกาศวิสัยทัศน์และพันธกิจการทำธุรกิจในไทย จะยังขอเติบโตไปพร้อมกับ GDP ของประเทศในปีนี้ จากหลายสำนักคาดการณ์อัตราเติบโตราวๆ 2.9% จากในปี 2567 มีจีดีพีอยู่ที่ 2.7%

 

ต่อเรื่องนี้ ‘ธีรวุธ ศุภพันธุ์ภิญโญ’ กรรมการผู้จัดการ บริษัทบราเดอร์ คอมเมอร์เชี่ยล (ประเทศไทย) จำกัด ระบุว่า ในปี 2567 ที่ผ่านมา ยังเป็นปีที่บริษัท มีอัตราการเติบโตสูงถึง 9% และยังสูงสุดในรอบ 28 ปี นับแต่ก่อตั้งกิจการในไทย เรียกว่า เติบโตกว่าเศรษฐกิจในภาพรวมของไทย

 

ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น?

 

‘ธีรวุธ’ ให้มุมมองว่า การเติบโตของธุรกิจยังไปพร้อมกับการขยายตัวการลงทุนในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีการสื่อสารและดิจิทัล ในกลุ่ม (Sector) ต่างๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชนทั้งในและต่างประเทศ เพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัล (Digital Tranformation) สอดคล้องกับการสำรวจของ ‘การ์ทเนอร์’ (Gartner, Inc.-บริษัทวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ) ระบุแนวโน้มตลาดไอที ในประเทศไทย จะมีมูลค่าสูงเกิน 1 ล้านล้าน (Trillion) บาท เติบโตขึ้น 5.8%

 

จากตัวเลขการเติบโตทั้งการลงทุนไอทีในประเทศ และการเติบโตของ บราเดอร์ ในช่วงที่ผ่านมา ทำให้บริษัทฯ วางวิสัยทัศน์ใหม่ เพื่อการเป็นผู้นำในทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ในตลาด (leading in every business categories) ด้วยยังย้ำจุดยืนตามมอตโต้ ‘at your side’ ของบราเดอร์

 

ด้วย Brother มองเห็นโอกาสการเติบโตทางธุรกิจตามการขยายตัวทิศทางเดียวกับ 3 กลุ่มอุตสาหรรมดังนี้

 

  • ภาคอุตสาหกรรมภาคการผลิต/โรงงาน (Manufacturing เติบโต 5%
  • ภาคอุตสาหกรรมทางการแพทย์ (Medical Care) เติบโต 7%
  • ภาคธุรกิจขนาดกลางย่อม (SME) เติบโต 4%

 

“การจะทำให้ธุรกิจเติบโต บราเดอร์จะต้องไปพร้อมกับเซ็กเตอร์ธุรกิจในไทยที่มีแนวโน้มขยายตัวเช่นกัน อย่างในกลุ่มเอสเอ็มอี จะเป็นธุรกิจสินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องกับค้าปลีก” ธีรวุธ กล่าว

4 ปัจจัยหนุนกระตุ้นเติบโต

 

สำหรับแนวโน้มการเติบโตทางธุรกิจและเศรษฐกิจ ในปี 2568 นี้คาดมาจาก 4 ปัจจัยบวก ดังนี้

 

  1. ภาคการท่องเที่ยว จากในปี 2567 ที่ผ่านมา มีนักเดินทางต่างชาติมาไทยราว 38 ล้านคน
  2. การลงทุนตรงจากต่างชาติ ยังมีโอกาสในภาคอุตสาหกรรมการผลิตและโรงงาน
  3. ภาคการส่งออก ยังมีแนวโน้มขยายตัวคงที่ราว 5-10%
  4. การผลักดันแคมเปญต่างของภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

 

“อย่างไรก็ตามยังมี ปัจจัยลบที่ยังต้องติดตามอย่างใกล้ชิดทั้ง ผลกระทบจากเทรด วอร์ สงครามการค้าผ่านกำแพงภาษีสหรัฐอเมริกา และความไม่สงบจากภูมิรัฐศาสตร์โลก” ธีรวุธ ให้มุมมองเพิ่ม

 

‘ผู้คน’ มองหารายได้เสริม

 

ด้าน ‘กิตติพงศ์ กนกวิไลรัตน์’ ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายขายและการตลาด บริษัทบราเดอร์ คอมเมอร์เชี่ยล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่าจากภาพรวมดังกล่าว ทำให้ บราเดอร์ วางแผนทำตลาดผลิตภัณฑ์ให้ครอบคลุมภาคธุรกิจ กลุ่มผู้บริโภคที่หลากหลาย ภายใต้กลยุทธ์ ‘Brother All’ ด้วยไลน์ผลิตภัณฑ์ครบวงจร ทั้ง เครื่องพิมพ์ เครื่องสแกน เครื่องพิมพ์ฉลาก จักรปัก เครื่องเสียงภายใต้แบรนด์ BMB เครื่องพิมพ์ผ้าระบบดิจิทัล และเครื่องพิมพ์ฉลากดิจิทัลระบบ UV อิงค์เจ็ทความละเอียดสูงภายใต้แบรนด์ Domino

 

“ในปีนี้ ตั้งเป้าขยายธุรกิจเติบโตไม่ต่ำกว่า 7% เพื่อย้ำความเป็นผู้นำและรักษาตำแหน่งอันดับ 1 ในสินค้ากลุ่มต่าวๆ จากปีที่ผ่านมา”

 

ประกอบด้วย กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องพิมพ์ (Printing Business)

 

  • เครื่องพิมพ์เลเซอร์ขาวดำ (45%)
  • เครื่องพิมพ์เลเซอร์มัลติฟังก์ชันขาวดำ (55%)
  • เครื่องพิมพ์เลเซอร์สี (51%)
  • เครื่องพิมพ์เลเซอร์มัลติฟังก์ชันสี (45%)

 

นอกจากนี้ ยังมี เครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ท A3 ที่มียอดขายอันดับ 1 ทั่วโลกต่อเนื่อง 17 ปี รวมถึงยังมีกลุ่มผลิตภัณฑ์ธุรกิจภาคขยาย (Business Expansion) ทั้งจักรปักสำหรับ SME, จักรเย็บผ้าภายในบ้าน, เครื่องพิมพ์ฉลาก P-touch และ เครื่องพิมพ์ผ้าระบบดิจิทัล Direct-to-Garment GTX ที่ครองส่วนแบ่งในตลาดอันดับ 1 ด้วย

 

กิตติพงศ์ กล่าวว่า บราเดอร์ จัดกลุ่มสินค้าเพื่อทำตลาดเชิงรุกทั้งในกลุ่มบีทูซี ธุรกิจ-ลูกค้าทั่วไป และ กลุ่มบีทูซี ธุรกิจ-ลูกค้าโปรเจกต์ พร้อมเปิดตัวช่องทางขายอีคอมเมิร์ซเว็บไซต์บราเดอร์ และ Loyalty Program เพื่อเพิ่มโอกาสรองรับทั้งกลุ่มลูกค้าใหม่และรายเดิมที่ยังมีความต้องการผลิตภัณฑ์ อุปกรณ์เสริม หมึกพิมพ์ ในรุ่นต่างๆ ที่ทำตลาดในช่วงก่อนหน้า

 

นอกจากนี้ บราเดอร์ จะยังเป็นแบรนด์ที่ปรับตัวให้มีความร่วมสมัยเข้ากับผู้บริโภคคนรุ่นใหม่อย่างต่อเนื่อง ในทุกช่องทางทั้งออฟไลน์และออนไลน์ บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่างๆ พร้อมใช้กลยุทธ์ SEO & SEM และ Lead Generation เพื่อเพิ่มการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างครอบคลุม

 

“ในช่วงเศรษฐกิจชะลอการเติบโต จะเป็นจังหวะที่ผู้คนที่มีรายได้ประจำจะเริ่มมมองหาแหล่งรายได้เสริม ทั้งการทำธุรกิจจากงานอดิเรก ปัก เย็บ ซ่อมแซม ไปจนถึงการทำสินค้ากลุ่มเสื้อผ้า พิมพ์ลาย สกรีน หรือ งานพิมพ์ป้ายติดฉลากของธุรกิจเอสเอ็มอี เป็นต้น ซึ่งบราเดอร์ มองเห็นเป็นโอกาสทั้งหมด”

 

ทั้งนี้ จากแผนธุรกิจดังกล่าว ในปี2568  บริษัทฯ วางเป้าหมายการเติบโต 7% จากในปีที่ผ่านมา

 

บทสรุป 

Brother ประเทศไทยโตสุดในรอบ 28 ปี ปีนี้ตั้งเป้าโตอีก 7% รับตลาดไอทีทะลุ 1 ล้านล้านบาท พร้อมทำตลาดสินค้าครอบคลุมทุกเซกเมนต์ แม้เศรษฐกิจชะลอตัว แต่ Brother มองเป็น ‘โอกาส’ ด้วยผลิตภัณฑ์ต่างๆในพอร์ตมาตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าธุรกิจโปรเจกต์ พร้อมขยายช่องทางในกลุ่มธุรกิจต่อลูกค้า ที่ต้องการหาอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ในตลาดทำเงินยุคใหม่  ขณะที่จีดีพีไทย แตะ 2.9 % ในปีนี้

 

 

 

 

บทความล่าสุด

COLLABORATE IDEAS, CREATE SUCCESS


FOLLOW US

© 2024 Maxideastudio. All Rights Reserved.