หลัง ‘เคเอฟซี’ เข้ามาในตลาด QSR และคุ้นเคยกับเด็กไทยมานานร่วม 40 ปี แถมครองแชมป์ No.1 ไก่ทอดมูลค่ากว่า 3 หมื่นล้านบาทมายาวนาน ที่นอกจากการทำธุรกิจแล้วยังขยายความผูกพันแบรนด์ในกลุ่มเด็กเปราะบาง ได้มีโอกาสทัดเทียมเพื่อนในเจนฯเดียวกัน ด้วย
ซูเฮล ลิมบาดะ Market Lead & Chief Marketing Officer เคเอฟซี ประเทศไทย ผู้ให้บริการร้านอาหารบริการด่วน (Quick Service Restaurant-QSR) กล่าวว่า ในการเปิดเทอมภาคการศึกษาใหม่นี้ เคเอฟซี เดินหน้าโครงการ KFC Bucket Search ต่อเนื่องเป็นรุ่นที่ 2 ภายใต้แนวคิดที่ว่า ‘ทุกศักยภาพไม่ควรถูกทอดทิ้ง’ จุดประกายความหวังด้านการศึกษา และเปิดประตูสู่อาชีพที่ดีในอนาคต โดยขยายความช่วยเหลือเยาวชนทั่วประเทศ จากเยาวชนกลุ่มสถานพินิจ สู่เยาวชนกลุ่มเปราะบาง และกลุ่มฅนวัยใส
จากข้อมูลของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) พบว่า ในช่วงเปิดเทอมภาคการศึกษาใหม่ มีเด็กไทยจำนวนมากที่ไม่ได้กลับไปเรียนหนังสือโดยในปี 2568 มีเด็กและเยาวชนอายุระหว่าง 3-24 ปี ที่อยู่นอกระบบการศึกษา จำนวนถึง 880,463 คน
“ปัญหาเด็กหลุดออกจากระบบการศึกษานั้นถือเป็นหนึ่งในปัญหาเร่งด่วนของระบบการศึกษาไทยที่ต้องได้รับการแก้ไข”
ซูเฮล กล่าว
ทั้งนี้ หากประเทศไทยยุติปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาจนทำให้จำนวนเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษากลายเป็นศูนย์ได้ จะส่งผลให้เศรษฐกิจเติบโตเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 1.7 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) เนื่องจากรายได้ตลอดชีวิตที่เพิ่มขึ้นของเด็กที่มีการศึกษาสูงขึ้น
ซูเฮล กล่าวว่า ที่ผ่านมาโครงการ KFC Bucket Search ภายใต้ความร่วมมือกับ กสศ. มุ่งยกระดับชีวิตของเด็กที่หลุดออกจากระบบการศึกษา พร้อมขับเคลื่อนประเทศไทยเพื่อแก้ปัญหาเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาให้กลายเป็นศูนย์ (Thailand Zero Dropout) ผ่านการออกแบบหลักสูตรการศึกษาที่ยืดหยุ่นและตอบโจทย์ชีวิต
โดยเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับทางเลือกที่เรียกว่า work & study ที่ช่วยในการจัดสรรเวลาและรายได้ ผ่านการเรียนและทำงานกับเคเอฟซี หรือรับการสนับสนุนด้านเงินทุนเพื่อวิชาชีพ โดยโครงการจะมอบองค์ความรู้และเงินทุนตั้งต้น
สำหรับการเรียนจะเน้นการสร้างระบบนิเวศของการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่น เยาวชนกลุ่มนี้สามารถเรียนรู้ทักษะชีวิต ทักษะอาชีพ และกลไกการเป็นผู้ประกอบการ ผ่านประสบการณ์ทำงานจริง และประสบการณ์เหล่านี้จะถูกแปลงเป็น ‘หน่วยกิต’ การศึกษา เพื่อสะสมเป็นวุฒิการศึกษานำไปต่อยอดการทำงานในอนาคตได้
ซูเฮล กล่าวว่า โครงการ KFC Bucket Search ไม่ใช่แค่กิจกรรม CSR แต่เป็นภาพสะท้อนของความเชื่อและความตั้งใจที่เรายึดมั่นมาตลอดกว่า 40 ปีในการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย ในการสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้กับสังคม และสนับสนุนให้ทุกคนได้รับโอกาสที่เท่าเทียม
“โครงการฯ ทำต่อเนื่องเป็นรุ่นที่ 2 ช่วยเยาวชนอีก 300 คน และตั้งเป้าภายในปีนี้อีก 1,000 คน”
ด้าน ภัทรา ภัทรสุวรรณ หัวหน้าฝ่ายบริหารแบรนด์ เคเอฟซี ประเทศไทย กล่าวว่าโรงเรียนนอกกรอบของเคเอฟซี กับหลักสูตรทักษะอาชีพและการเป็นผู้ประกอบการ ที่สามารถนำประสบการณ์ทำงานจริงมาเป็นหน่วยกิตเรียนจบ ม.6 ได้ โดยผสานการเรียนรู้ที่ตอบโจทย์ชีวิตและประสบการณ์การทำงานจริงกับเคเอฟซี
สำหรับโครงการฯ เริ่มตั้งแต่ปี 2566 ได้ส่งมอบโอกาสให้เด็กและเยาวชนจำนวนทั้งสิ้น 430 คน โดยในจำนวนนี้ ส่วนใหญ่มาจากกลุ่มสถานพินิจ นอกเหนือจากการสนับสนุนในด้านการเรียนและทักษะการประกอบอาชีพแล้ว ทางเคเอฟซียังได้นำวิทยากรจากหลากหลายสาขาอาชีพ อาทิ อินฟลูเอ็นเซอร์ ช่างตัดผม นักดนตรี และบาร์เทนเดอร์ เข้ามาแบ่งปันความรู้ประสบการณ์ เพื่อเปิดกว้างเกี่ยวกับโลกการทำงานและเส้นทางอาชีพที่หลากหลายอีกด้วย
ด้าน เอิร์ท-กฤษณะภัส เรืองฤทธิ์ เยาวชนจากโครงการ KFC Bucket Search รุ่นแรก กล่าวว่า ตนเองได้มีโอกาสมาเล่นดนตรีในงานเปิดตัวโครงการ Bucket Search เมื่อประมาณ 2 ปีที่แล้ว หลังวงชนะการประกวดวงดนตรีของ DJOP Music Contest ของทางกรมพินิจฯ และได้รับโอกาสจากเคเอฟซีไปออกงาน ได้ร้องเพลงเล่นดนตรี
“ผมรู้สึกมีความสุขเวลาคนเห็นเราร้องเพลง เลยอยากทำมันให้ดี เป็นอาชีพได้ ผมเลือกทำให้ทุกคนเชื่อว่าเราสามารถเปลี่ยนตัวเองได้ ผมไม่ได้กังวลกับการใช้ชีวิตข้างนอกเพราะได้รับโอกาสจากหลายๆ คนที่ทำให้เราเป็นเราในทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเป็นโอกาสทางการศึกษาหรือการได้ทำในสิ่งที่ชอบ”
ทั้งนี้ โครงการ Bucket Search มุ่งสนับสนุนเยาวชนในโครงการให้ค้นหาศักยภาพของตนเองในสาขาวิชาชีพต่างๆ โดยไม่จำกัดโอกาสการทำงานเฉพาะกับทางเคเอฟซีเท่านั้น
ปัจจุบัน น้องๆ รุ่นแรกจำนวน 130 คนนั้น เกือบครึ่งหนึ่งเลือกเรียนและทำงาน (work & study) ไปพร้อมกัน ทั้งการศึกษาต่อในสายอาชีวศึกษา สายสามัญ หรือในระดับปริญญาตรี ส่วนน้องๆ กลุ่มที่เหลือเลือกประกอบอาชีพตามความถนัดและความสนใจของตนเอง เช่น การทำธุรกิจส่วนตัว งานช่าง งานบริการ ไปจนถึงงานในสายดนตรี
โดย เคเอฟซี มุ่งเน้นพัฒนาทักษะทั้งด้าน hard skills เช่น การเป็นผู้ประกอบการ ภาษาอังกฤษ หรือการตลาด ซึ่งเป็นทักษะสำคัญในโลกการทำงานยุคใหม่เท่านั้น พร้อมสร้าง soft skills ทักษะการสื่อสาร การปรับตัวและอยู่ร่วมกับผู้อื่น การวางแผนชีวิต (life plan) การตระหนักรู้ในตนเอง และการเข้าใจผู้อื่น ด้วยเป้าหมายสูงสุด คือ การให้เด็กนอกระบบสามารถกลับคืนสู่สังคม และนำองค์ความรู้และประสบการณ์ที่สั่งสมจากโครงการไปต่อยอดศักยภาพ สร้างรายได้เลี้ยงชีพตนเองและครอบครัวได้อย่างยั่งยืน
นอกจากนี้ เคเอฟซีได้เปิดตัวภาพยนตร์สั้น 3 ตอน ซึ่งบอกเล่าหลักสูตร work & study ของโรงเรียนนอกกรอบเคเอฟซี หลักสูตรที่เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้แบบบูรณาการจากการทำงานที่ร้านเคเอฟซี และนำประสบการณ์มาแลกเป็นหน่วยกิต เพื่อช่วยให้น้องๆ ได้กลับมาเรียนต่อ และกล้าที่จะฝันอีกครั้ง
สามารถรับชมภาพยนตร์โฆษณาทั้งสามตอน และติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวของโครงการ KFC Bucket Search ได้ที่เพจเฟซบุ๊ก KFC Foundation TH
K
เกี่ยวกับ เคเอฟซี
เคเอฟซี หนึ่งในแบรนด์ร้านอาหารบริการด่วนที่ใหญ่ที่สุดและได้รับความนิยมทั่วโลก ก่อตั้งโดยผู้พันฮาร์แลนด์ แซนเดอร์ส ตั้งแต่ พ.ศ. 2495 ส่วนในประเทศไทย ร้านเคเอฟซี สาขาแรกก่อตั้งขึ้นในปี 2527 ที่ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ลาดพร้าว ปัจจุบันมีร้านเคเอฟซี 1,157 สาขาทั่วประเทศ (ณ เมษายน 2568) บริหารแบรนด์และแฟรนไชส์โดย บริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด และบริหารร้านเคเอฟซีโดยแฟรนไชส์ซี่ จำนวน 3 ราย
- บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด (CRG)
- บริษัท เรสเทอรองตส์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (RD)
- บริษัท เดอะ คิวเอสอาร์ ออฟ เอเชีย จำกัด (QSA)
Alternate-X สรุปให้
เคเอฟซี เดินหน้าโครงการ KFC Bucket Search รุ่นที่ 2 หนุนเยาวชนนอกระบบการศึกษา สร้างโอกาสใหม่ผ่านการเรียนรู้และทำงานจริง ตั้งเป้า ‘Thailand Zero Dropout’ หวังยกระดับ GDP ไทย 1.7% เปิดหลักสูตรยืดหยุ่น work & study แปลงประสบการณ์เป็นวุฒิการศึกษา พร้อมพัฒนาเยาวชนกว่า 1,000 คนภายในปีนี้