ล้วงกำลังซื้อเจนฯZ รู้ความต้องการตัวเองดี ขอ ‘เสิร์ชก่อนซื้อ’ ต้องทำคอนเทนต์ ‘ดูไว เข้าใจง่าย’

Kantar เปิดผลวิจัยเทรนด์การซื้อสินค้ากลุ่มคนรุ่นใหม่โดยเจาะลึกอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ในประเทศไทย เน้นกลุ่ม Gen Z อายุระหว่าง 18–24 ปี

 

สรุปภาพรวมการเสพสื่อของ Gen Z เน้น Multi-Format คอนเทนต์ต้องเข้าถึงได้ง่าย และสามารถมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับเพื่อนและครีเอเตอร์

 

โดย รูปแบบที่ได้รับความนิยมสูงสุด คือ

 

  • 71% คอนเทนต์วิดีโอสั้นแนวตั้ง ตอบโจทย์พฤติกรรมแบบเสพคอนเทนต์แบบ Mobile First ที่เน้น ‘ดูไว เข้าใจง่าย
  • 56%) คอนเทนต์วิดีโอยาว ส่วนใหญ่เป็นข้อมูลที่คนต้องการศึกษารายละเอียดเชิงลึก อาทิ
  • วิดีโอสอนการใช้งาน (Tutorial)
  • วิดีโอถ่ายทอดไลฟ์สไตล์ (Vlog)
  • วิดีโอให้สาระ-ความรู้ (Documentary)
  • 32% ไลฟ์สตรีม อาทิ เกมสตรีมสด สะท้อนความชอบ Gen Z ที่เน้นคอนเทนต์สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ ดูที่ไหน เมื่อไรก็ได้ มากกว่าคอนเทนต์เรียลไทม์

 

นอกจากนี้ Gen Z ยังเปิดรับสื่อวิดีโอที่หลากหลาย สั้น-ยาว สลับกันไปมา การใช้วิดีโอสั้นเข้ามาดึงดูดความสนใจ เพื่อนำไปสู่การรับชมคอนเทนต์วิดีโอยาว กำลังจะกลายมาเป็นมาตรฐานใหม่

 

โดยนักการตลาด จึงควรวางกลยุทธ์การสื่อสารที่ครอบคลุมรูปแบบของเนื้อหาและช่วงเวลาที่เหมาะสม

 

 

สำหรับช่องทางสื่อที่ครองใจ Gen Z มากที่สุด คือ

 

  • 78% Youtube
  • 66% Tiktok
  • 41% Instagram
  • 39% Facebook
  • 21% X
  • 18% Line

 

 

ขณะเดียวกัน Gen Z ยังเลือกเสพคอนเทนต์จาก YouTube สำหรับวิดีโอยาว เพราะแพลตฟอร์มนี้ ช่วยให้อินฟลูเอนเซอร์หรือผู้เชี่ยวชาญสามารถอธิบายข้อมูลได้อย่างละเอียดลึกซึ้ง

 

โดย 97% ของผู้บริโภค Gen Z มองว่า ‘ครีเอเตอร์ที่น่าเชื่อถือ’  มีส่วนสำคัญในการตัดสินใจซื้อ ซึ่ง Gen Z ให้ความสำคัญจากรีวิวที่เชื่อถือได้จากความเชี่ยวชาญของผู้ใช้งานจริง สิ่งเหล่านี้มีความเชื่อมโยงกับ YouTube

 

ทั้งนี้ นักการตลาดควรพิจารณาให้ดีว่า ควรให้ใครพูดแทนแบรนด์ถึงจะทำให้รีวิวนั้นน่าเชื่อถือมากพอ”

 

ควรขายอะไรให้ Gen Z และกลุ่มนี้ชอบอะไร ?

 

  • ผลิตภัณฑ์ดูแลตัวเอง (36%)
  • อาหารและเครื่องดื่ม (35%)
  • แฟชั่นผู้หญิง (33%)
  • ความงาม (30%)
  • เครื่องประดับแฟชั่น (28%)

 

สแกนพฤติกรรมผู้บริโภค Gen Z ‘เสิร์ช’ ก่อนซื้อ

 

สาวเจนฯ Z

 

  • มีพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยที่หลากหลายมากกว่า
  • ให้ความสำคัญกับสินค้าที่แสดงออกถึงตัวตนอย่างชัดเจน
  • นักการตลาดอาจพัฒนาสินค้าหรือบริการที่ตอบโจทย์ตัวตนและส่งเสริมภาพลักษณ์ในแบบที่ผู้หญิง Gen Z ต้องการ

 

หนุ่มเจนฯ Z

 

  • นิยมซื้อสินค้าประเภทแฟชั่นผู้ชาย
  • ชอบอุปกรณ์เสริมอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก

 

โดยหลังจาก Gen Z รู้ว่าตนเองต้องการอะไร พวกเขาชอบมีพฤติกรรม ‘เสิร์ชก่อนซื้อ’ โดยแพลตฟอร์มยอดนิยมที่ตอบโจทย์การซื้อของคนกลุ่มนี้มากสุด ได้แก่

 

  • Shopee (52%)
  • Lazada (22%)
  • Tiktok (16%)
  • Facebook (8%)
  • Shein (2%)

 

สำหรับแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ‘Shopee’ ครองใจผู้บริโภค Gen Z มากกว่าครึ่ง มาจากด้าน UX/UI ที่ใช้งานง่าย โปรโมชั่นและส่วนลดที่น่าดึงดูดใจ รวมไปถึงประสบการณ์ด้านขนส่งที่น่าเชื่อถือ

 

ปัจจัยกระตุ้นกลุ่ม Gen Z ซื้อของผ่านออนไลน์ คือ

 

  • การส่งฟรี (40%)
  • โปรโมชั่นที่น่าสนใจ (29%)
  • ส่วนลดที่คุ้มค่า (28%)

 

ขณะที่ พฤติกรรมนี้อาจจะกำลังบอกนักการตลาดว่า การแข่งขันเพื่อชิงตำแหน่งผู้เล่นที่ ‘ราคาถูกที่สุด’ อาจไม่ใช่วิธีที่เวิร์คเสมอไป แต่ควรคำนึงถึงความคุ้มค่าในแง่ของประสบการณ์ที่ผู้บริโภคจะได้รับเป็นสำคัญ

Alternate-X สรุปให้

Kantar เผยเทรนด์พฤติกรรมการซื้อของ Gen Z ไทย (18–24 ปี) ผ่านคอนเทนต์วิดีโอสั้นและยาวบน YouTube, TikTok โดย Gen Z เน้นเสพคอนเทนต์ Mobile First, เข้าใจง่าย, มีปฏิสัมพันธ์ และรีวิวที่น่าเชื่อถือจากผู้เชี่ยวชาญ ขณะที่ Shopee ครองใจการซื้อสินค้าออนไลน์ ตามด้วย Lazada และ TikTok ส่วนสินค้ายอดนิยม ได้แก่ สกินแคร์, อาหาร, แฟชั่น, เครื่องสำอาง และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โดยปัจจัยตัดสินใจซื้อ คือ  ส่งฟรี, โปรแรง, ความคุ้มค่า ไม่ใช่แค่ราคาถูกที่สุด

บทความล่าสุด

COLLABORATE IDEAS, CREATE SUCCESS


FOLLOW US

© 2024 Maxideastudio. All Rights Reserved.